|
|
มุมมองข้อมูลฉบับวารสาร
|
|
|
ปีที่ 32, ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม), เลขที่ฉบับ 126, ปี 2553
|
|
รหัสผู้ใช้งาน |
1.
|
ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรม
ที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
กฤตกร กัลยารัตน์
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มของสาขาธนาคารที่มีผลการดำเนินงานสูง-ต่ำ ในบริบทการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลการดำเนินงานของธนาคารสาขาที่มีระดับผลประกอบการสูง-ต่ำ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้และรูปแบบของบรรยากาศการเรียนรู้ของกลุ่มธนาคารสาขาที่มีผลประกอบการสูง-ต่ำ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทยจำนวน 938 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551) การศึกษาประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แบบสอบถามจำนวน 430 สาขาที่ได้รับคืนมา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 221 สาขาและกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ 209 สาขา การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้จัดการและการสังเกตการณ์ทำงานในสาขาธนาคารไทยพาณิชย์จำนวน 20 สาขา โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 8 สาขา และกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ 12 สาขา ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS version 16.0 ร่วมกับโปรแกรม AMOS 7.0 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง (n = 221) พบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 142.39, df = 119, / df = 1.197 , ns., GFI = .942) และพบว่า สถานการณ์การแข่งขันมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกกับการจัดการความรู้ ( = .79, p < .001) และบรรยากาศการเรียนรู้ ( = .93, p < .001) และยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีการจัดการความรู้ และบรรยากาศการเรียนรู้ เป็นตัวแปรคั่นกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดการความรู้ยังมีอิทธิพลโดยตรงเชิงลบต่อผลการดำเนินงาน ( = -.89, p < 0.01) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรม และความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวแปรคั่นกลาง ส่วนบรรยากาศการเรียนรู้ พบว่า มีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ( = .36, p < .05) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรมเป็นตัวแปรคั่นกลาง ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 92.9 อนึ่ง การที่การจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของสาขาที่มีผลประกอบการสูง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมชี้ว่า การจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงลบต่อตัวแปรระดับความพึงพอใจของพนักงานตัวแปรเดียวเท่านั้น นั่นคือ หากมีการจัดการความรู้ที่เน้นเพียงกระบวนการมากกว่าการสร้างการตระหนักถึงคุณค่าจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของพนักงานลดลง
ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ (n = 209) พบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 113.772, df = 94, / df = 1.210 , ns., GFI = .950, CFI = .994) และพบว่า สถานการณ์การแข่งขันมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกกับการจัดการความรู้ ( = .87, p < .001) และบรรยากาศการเรียนรู้ ( = .97, p < .001) ส่วนการจัดการความรู้ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านบรรยากาศการเรียนรู้พบว่า ไม่มีอิทธิพลใดต่อผลการดำเนินงาน ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเนินงานได้ ร้อยละ 91.8
ในส่วนท้ายของบทความได้จัดทำข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้ผลการศึกษาแก่ธนาคารไทยพาณิชย์และหน่วยงานต่างๆไว้ด้วย
คำสำคัญ: สถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการ เปลี่ยนแปลง นวัตกรรม ผลการดำเนินงาน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ซ่อนบทคัดย่อ
|
กฤตกร กัลยารัตน์ (2553). ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรม
ที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 126, 1 - 24.
Krittakorn Galyarat (2010). Empirical Impact of Competition Rivalry, Knowledge Management,
Learning Climate, Readiness to Change, and Innovation
on Performance of Siam Commercial Bank Branches. Chulalongkorn Business Review, 126, 1 - 24.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
1 - 24
|
|
|
|
|
|
6.
|
การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน:
กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
อัญญา เปี่ยมประถม
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีระหว่างหัวหน้างานและพนักงาน เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติแก่หัวหน้างานและพนักงานในการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากหัวหน้างานและพนักงานของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ทั้งหมดจำนวน 370 คน แบ่งเป็น หัวหน้างาน 38 คน และพนักงาน 332 คน ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้างานและพนักงานได้ให้และรับข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหัวหน้างานและพนักงานมีทัศนคติทางบวกต่อการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้แก่ พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงข้อมูลป้อนกลับ ประสิทธิภาพข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างาน ทัศนคติต่อการให้ข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างาน รูปแบบภาวะผู้นำแบบชี้นำ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของพนักงาน ส่วนแนวทางที่ควรปฏิบัติ คือ หัวหน้างานจะต้องมีความจริงใจ มุ่งมั่น และเอาใจใส่ในกระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีเตรียมข้อมูล ข้อมูลป้อนกลับต้องถูกต้อง เป็นความจริง มีเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้ พนักงานจะต้องเปิดใจ ไม่ป้องกันตนเอง เห็นความสำคัญของข้อมูลป้อนกลับ และนำข้อมูลป้อนกลับไปปฏิบัติ ส่วนข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิภาพต้องมีความเฉพาะเจาะจง มีตัวอย่างประกอบชัดเจน เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและเป็นสิ่งที่พนักงานสามารถปฏิบัติตามได้ และส่วนองค์การควรจัดให้มีการให้ข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และฝึกอบรมหัวหน้างานและพนักงานเรื่องการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ
คำสำคัญ (Keywords) : Feedback, Performance, Feedback Management Behavior, Attitude to Giving and Receiving Feedback, Leadership Style, ข้อมูลป้อนกลับ ผลการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการจัดการข้อมูลป้อนกลับ ทัศนคติต่อการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ รูปแบบภาวะผู้นำ
ซ่อนบทคัดย่อ
|
อัญญา เปี่ยมประถม (2553). การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน:
กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 126, 127 - 159.
Anya Piampratom (2010). Feedback Giving and Receiving Impacting on Employees Performance:
A Case Study of Siam Cement (Kaeng Khoi) Co.,Ltd.. Chulalongkorn Business Review, 126, 127 - 159.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
127 - 159
|
|
|
|