อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอน ปี ค.ศ.2004 ได้มีการวิเคราะห์และอภิปรายในประเด็นสำคัญที่หลากลายและในมุมมองที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และนโยบายของประเทศต่างๆ เช่น มาตรฐานของระบบบำบัดน้ำอับเฉาและการบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา (International Maritime Organization, 2012b, 2012a) หรือบทบาทของสถาบันการเงินในสหภาพยุโรป เป็นต้น (International Maritime Organization, 2011e) ซึ่งยังไม่มีการศึกษาใดที่เกี่ยวข้องกับบริบทของประเทศไทย ดังนั้นความมุ่งหมายของการศึกษาในครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมการปฏิบัติในด้านต่างๆ เพื่อรองรับอนุสัญญาฯ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริษัทสายเรือของประเทศไทย โดยงานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในบริษัทสายเรือไทยจำนวนทั้งสิ้น 8 บริษัท โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียงและกลุ่มบริษัทขนส่งสินค้าที่มีเส้นทางเดินเรือไปทั่วโลกจำนวนอย่างละ 4 บริษัท การเก็บข้อมูลนั้นดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติและเตรียมความพร้อม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจำนวน 55 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบริษัทสายเรือต่างๆ ในกองเรือพาณิชย์ไทยมีระดับความพร้อมและการเตรียมการปฏิบัติเพื่อรองรับอนุสัญญาฯ ที่สามารถนำเสนอได้เป็น 4 ด้านสำคัญดังนี้ คือ 1) ด้านบุคลากร บุคลากรพาณิชย์นาวีของไทยมีความรู้ในการจัดการน้ำอับเฉาเรืออยู่ในระดับที่ดี 2)ด้านงบประมาณ เฉพาะบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกบางแห่งเท่านั้นที่มีการเตรียมการและมีความพร้อมด้านงบประมาณไว้ 3) ด้านตัวเรือ ปัจจุบันกองเรือพาณิชย์ของไทยมีความพร้อมในด้านงานธุรการและการปฏิบัติในการเปลี่ยนถ่ายน้ำอับเฉาตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ แต่ยังขาดความพร้อมในการบำบัดน้ำอับเฉาเรือ กลุ่มบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าภายในประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญและขาดการเตรียมการที่ดี และ 4) ด้านมาตรการในการบริหารจัดการ ในขณะที่กลุ่มบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกมีความตื่นตัวมาก จึงได้กำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในหลายประเด็นและมีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งหมดให้ความสำคัญกับการอบรมความรู้บุคลากร มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเทคนิคของเรือในกองเรือและบางแห่งมีการจัดหางบประมาณที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว จากสถานภาพความพร้อมในปัจจุบันจึงนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติและเตรียมความพร้อมในแต่ละด้าน และนำไปให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น โดยพิจารณาที่ตัวเกณฑ์ความสำคัญของแนวทางและความง่ายในนำไปการปฏิบัติเพื่อจัดระดับความเร่งด่วนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลงทุนทางตรงในต่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทย โดยมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อได้เปรียบจากการเป็นเจ้าของของกิจการ โดยกรอบการวิจัยได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารในอุตสาหกรรมนี้ในเชิงลึก วิธีการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วยการส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และการรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัท ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 67% ของบริษัทในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีแนวโน้มที่จะลงทุนทางตรงในต่างประเทศ โดยประเทศที่บริษัทสนใจจะไปลงทุนทางตรงมากที่สุดได้แก่ เวียดนาม และกัมพูชา ทั้งนี้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแบบงานวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ความสามารถในการจัดการ และความสามารถในการเข้าถึงตลาด เป็นข้อได้เปรียบจากการเป็นเจ้าของที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลงทุนทางตรงในต่างประเทศมากที่สุด
กราฟเส้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับการยอมรับมากมาย เพื่อการตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงปริมาณ แต่ทว่าการวิจัยในบริบทของประเทศไทยที่ได้สอบทานผลของรูปแบบสเกล จำนวนตัวแปรต่อกราฟ และการใช้จุดข้อมูลต่อความเข้าใจกราฟเส้นยังจำกัด การศึกษานี้จึงต้องการเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย การทดลองในห้องปฏิบัติการอันประกอบด้วย หน่วยทดลองที่เป็นนิสิตปริญญาตรีในหลักสูตรบริหารธุรกิจของประเทศไทยถูกสุ่มให้พิจารณากราฟแท่งที่นำเสนอเรื่องเดียวกันใน 12 ลักษณะ (รูปแบบสเกลสองรูปแบบ x จำนวนตัวแปรสามจำนวนต่อการแสดงหนึ่งรูปกราฟ x การใช้จุดข้อมูลสองลักษณะ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผลของรูปแบบสเกลและจำนวนตัวแปรต่อกราฟต่อความเข้าใจกราฟเส้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ผลของการใช้จุดข้อมูลหรืออิทธิพลร่วมของทั้งสามตัวแปรต่อความเข้าใจข้างต้นไม่มีนัยสำคัญ นอกจากช่วยต่อยอดองค์ความรู้ของจินตทัศน์ทางธุรกิจในบริบทของผู้ใช้กราฟเส้นชาวไทยแล้ว ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทางจินตทัศน์สามารถใช้ข้อค้นพบหรือปรับปรุงการนำเสนอกราฟที่เพิ่มความเข้าใจกราฟเส้นได้ด้วย
กราฟเส้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับการยอมรับมากมาย เพื่อการตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงปริมาณ แต่ทว่าการวิจัยในงานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความมีส่วนร่วมของพนักงานและการใช้เครื่องมือพื้นฐานในการเพิ่มผลิตภาพต่อการเพิ่ม Yield การใช้วัตถุดิบในการผลิตปลาทูน่ากระป๋องผ่านการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย และการใช้เครื่องมือพื้นฐานในการเพิ่มผลิตภาพ เช่น เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ผลการปรับปรุงสามารถลดความแตกต่างระหว่าง Yield ที่ทำได้จริงกับ Yield มาตรฐานได้จาก -3.01% เหลือ -1.64 % โดยมีแนวโน้มการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พนักงานของบริษัทยังมีทักษะและความมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานเพิ่มขึ้น และบริษัทมีมาตรฐานในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยตนเองต่อไป
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเห็นของนักท่องเที่ยวถึงคุณภาพของการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ จากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาในภาพรวมของนักท่องเที่ยว พบว่า องค์ประกอบคุณภาพของการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tourism Quality) มีสองมิติ มิติแรกคือ คุณภาพการให้บริการการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tourism Service Quality) ประกอบด้วย คุณภาพการออกแบบเว็บไซต์ คุณภาพการออกแบบบริการ คุณภาพการให้บริการ และคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนระบบ และมิติที่สองคือ คุณภาพการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tourism Marketing Management Quality)