|
|
|
4.
|
ผลกระทบของการซื้อขายจากนักลงทุนแต่ละประเภทต่อความผันผวนและการกระโดด ผลการศึกษาจากประเทศไทย
สุภารัตน์ ตันทนงศักดิ์กุล, ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา, Marvin Wee และ Robert Brooks
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
เราตรวจสอบผลกระทบการซื้อขายของนักลงทุนแต่ละประเภทโดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลายที่มีต่อความผันผวนที่แท้จริง (Realized Volatility) และส่วนประกอบของความผันผวน โดยใช้เทคนิคของ Barndorff-Nielsen and Shephard (2004) เพื่อทำการแยกความผันผวนที่แท้จริงออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนประกอบที่เป็นความต่อเนื่อง (Continuous Component) กับ ส่วนประกอบที่เป็นการกระโดด (Jump Component) โดยใช้ชุดข้อมูลที่มีรายละเอียดการซื้อขายความถี่สูง เราพบว่าการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยมีอิทธิพลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการซื้อขายชองนักลงทุนรายย่อยมีผลกระทบมากที่สุดต่อความผันผวนที่แท้จริง และส่วนประกอบของความผันผวนที่แท้จริง ขณะที่การเพิ่มขึ้นของการซื้อขายโดยนักลงทุนรายย่อยจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของความผันผวนที่แท้จริง แต่การลดลงของการซื้อขายจากนักลงทุนรายย่อยมีผลต่อการกระโดดของความผันผวน นอกจากนี้เราพบว่าจำนวนครั้งของการซื้อขายโดยนักลงทุนรายย่อยเมื่อเทียบกับนักลงทุนกลุ่มอื่นจะมีความสัมพันธ์มากที่สุดต่อส่วนประกอบที่เป็นความต่อเนื่องของความผันผวนที่แท้จริง ซึ่งหมายความว่าการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยมีความสัมพันธ์ต่อการปล่อยข้อมูลข่าวสารที่เป็นไปตามที่ตลาดคาดคิด ผลดังกล่าวอาจเกิดจากการที่นักลงทุนรายย่อยบางส่วนเป็นนักลงทุนที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร
ซ่อนบทคัดย่อ
|
สุภารัตน์ ตันทนงศักดิ์กุล, ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา, Marvin Wee และ Robert Brooks (2561). ผลกระทบของการซื้อขายจากนักลงทุนแต่ละประเภทต่อความผันผวนและการกระโดด ผลการศึกษาจากประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 158, 111 - 142.
Suparatana Tanthanongsakkun, Sirimon Treepongkaruna, Marvin Wee and Robert Brooks (2018). The Effect of Trading by Different Trader Types on Realized Volatility and Jumps: Evidence from the Thai Stock Market. Chulalongkorn Business Review, 158, 111 - 142.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
111 - 142
|
|
|